Architecture of the Next Normal
OPENBOX offers five innovative design solutions for the City of the Future
Introducing an urban development concept for the “Next Normal”
เปิด 5 โซลูชั่น City of the Future
แนวคิดการพัฒนาเมืองที่สอดรับกับ The Next Normal
___________________________________________________________
The impact of the COVID-19 global pandemic is drastically changing our livelihood. OPENBOX Architects, Thailand’s leading architect firm, believes that as we embrace the so-called “Next Normal,” this new lifestyle will remain with us for a long time. We shed light on how this Next Normal will influence urban lifestyles and to the City of the Future solutions.
According to us, solutions provided by the City of the Future could be a recipe for the success of today’s urban planning and design, aligning with the Next Normal. The solutions will respond to the radical change in lifestyle the pandemic has brought about, changes which may become permanent. These solutions will also help us survive an inevitable upcoming digital disruption, and they will support environmental sustainability.
People have differing opinions about how to achieve the City of the Future, but we think these solutions will creatively reshape urban design through effective space management. The solutions also include the planning and design of buildings, spaces, and urban areas to meet the universal needs of all people. Additionally, the City of the Future will focus on the environment and on green spaces, enabling effective energy sharing among the inhabitants. Last, but not least, the City of the Future cannot be realized without two significant factors: means of transportation and innovative housing technology.
We identifies five urban development solutions for the sustainable City of the Future (SENSE):
หลังเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดครั้งใหญ่และกระจายไปทั่วโลกนั้น ทำให้เราเชื่อกันว่าวิถีชีวิตในแบบปกติที่เราดำเนินอยู่ทุกวันนี้ กำลังจะเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่และกลายเป็นวิถีชีวิตปกติของเรา หรือคำที่มักจะได้ยินกันหนาหูในเวลานี้ก็คือคำว่า The Next Normal และจากจุดนี้เองเราได้อธิบาย The Next Normal ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองและชีวิตผู้คน สู่โซลูชั่นของการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต (City of Future)
โดย โซลูชั่น City of Future นี่เองจะเป็นเหมือนสูตรสำเร็จของการออกแบบการพัฒนาเมืองที่สอดรับกับ The Next Normal ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิดที่จะอยู่กับโลกใบนี้ไปอีกนานเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์วิถีการดำเนินชีวิตใหม่ซึ่งถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) และสอดคล้องกับแนวคิดในกระแสโลกยุคใหม่ คือการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ มุมมองเกี่ยวกับเมืองแห่งอนาคตของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน แต่สำหรับเรานั้น คิดว่า คือเมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์การออกแบบในด้านต่าง ๆ รวมเข้ามาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ, การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมืองให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย, การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว และการใช้พลังงานร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่จะเข้ามาเติมเต็มทำให้เมืองมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก็คือ การขนส่ง และนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัย
สำหรับ แนวคิดการออกแบบการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิด S-E-N-S-E ที่รวม 5 โซลูชั่น สำหรับ City of the Future เมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน ดังนี้
___________________________________________________________
S – Space Efficiency: Offering the optimal efficiency in space management, this solution responds to the demands of modern living and renders a better quality of life for residents. For instance, the design of a high-rise building or condominium can resolve the challenges of limited livable space and resources, which can lead to efficient space management. By switching from horizontal houses to vertical buildings, people can preserve land for other needs, such as nature or commerce. High-rise building is a perfect solution for the COVID-19 era, as each family gets to stay on its own floor, receive enough sunlight, and isolate the direction of airflow and ventilation. As a result, residents feel safer from COVID-19 than if they lived in a horizontal habitat.
การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว เช่น แนวคิดการขยายพื้นที่สวนสาธารณะขนาดย่อม (pocket park) ให้กระจายตัวมากขึ้นในเขตเมือง และให้เพียงพอกับระยะการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นแนวคิดการจัดการพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยหนึ่งในโซลูชั่นที่จะเข้ามาตอบโจทย์แนวคิดนี้ก็คือ อาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาการใช้พื้นที่และทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ หากเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในแนวราบแบบกระจายตัวมารวบเป็นอาคารสูง จะทำให้มีพื้นที่เหลือในการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการมีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน อาคารสูงยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิดที่ผู้อยู่อาศัยจะแยกกันอยู่คนละชั้น ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ และไม่มีปัญหาการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นแนวคิดการจัดการพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยหนึ่งในโซลูชั่นที่จะเข้ามาตอบโจทย์แนวคิดนี้ก็คือ อาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาการใช้พื้นที่และทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ หากเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในแนวราบแบบกระจายตัวมารวบเป็นอาคารสูง จะทำให้มีพื้นที่เหลือในการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการมีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน อาคารสูงยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิดที่ผู้อยู่อาศัยจะแยกกันอยู่คนละชั้น ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ และไม่มีปัญหาเรื่องการใช้อากาศร่วมกัน ให้ความรู้สึกปลอดภัยห่างไกลโควิดได้มากกว่าบ้านที่เป็นแนวราบ
___________________________________________________________
E – Energy Sharing: This solution aims to build efficient energy sharing systems. We know that residential condominiums consume more energy at night and less during the day. On the other hand, office buildings need the most energy during the day, using less at night. Each of these premises install their own energy savings systems, which, unfortunately, do not perform effectively and yield a large amount of excess power. This has inspired the idea of an “energy blockchain” or digital energy. This technology enables customers to concurrently consume energy and trade excess power with nearby buildings. Another approach is called “district cooling,” which centralizes the production of cooling and distributes it to communities including homes, office buildings, shopping malls, and condominiums. This provides efficiency advantages in energy consumption and reduces the use of unnecessary equipment.
การออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันจะพบว่า คอนโดมิเนียม จะมีการใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางคืน แต่ช่วงกลางวันการใช้พลังงานจะลดลงไป ขณะที่อาคารสำนักงาน จะใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่จะลดการใช้ลงในช่วงกลางคืน ซึ่งแต่ละอาคารเหล่านั้นจะติดตั้งอุปกรณ์การจัดการพลังงานของตนเอง อุปกรณ์เหล่านั้นจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีพลังงานเหลือเกินความต้องการ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Energy Blockchain หรือ Digital Energy กรณีมีพลังงานเหลือก็จะนำไปขายให้แก่ตึกที่อยู่ใกล้เคียงและใช้ในแบบเหลื่อมเวลากัน หรืออีกแนวคิดที่เรียกว่า District Cooling ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ โดยสามารถส่งความเย็นไปยังสถานที่อื่น ๆ ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารสำนักงาน ห้าง และ คอนโดมิเนียม ถือเป็นแนวคิดการลดใช้พลังงาน ลดการใช้อุปกรณ์ที่เกินความจำเป็น
___________________________________________________________
N – Nature & Green: Emphasizing the importance of nature and green spaces, this solution encourages the increase of pedestrian-friendly pocket parks in urban areas. Japan is well-known as the world pioneer in pocket parks. Many pocket parks are also created in Singapore and the US, in addition to their existing large public parks. Another interesting idea is a “park network,” which provides public spaces linking to one another only through walking, jogging, or biking trails. No roads or streets are needed. These ideas can be realized by a proper design.
การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว เช่น แนวคิดการขยายพื้นที่สวนสาธารณะขนาดย่อม (pocket park) ให้กระจายตัวมากขึ้นในเขตเมือง และให้เพียงพอกับระยะคนเดิน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเจ้าแห่ง pocket park แห่งหนึ่งของโลก หรือในประเทศสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ที่นอกจากจะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่แล้วยังมี pocket park อีกหลายแห่ง ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ park network สวนสาธารณะหลาย ๆ แห่งที่ผู้คนสามารถเดิน วิ่ง หรือขี่จักรยาน เชื่อมถึงกันได้โดยไม่ต้องผ่านหรือใช้ถนน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการออกแบบทั้งสิ้น
___________________________________________________________
S –Syncronization of Multi-Functions: This solution for building or urban design responds to universal needs, with the distinctive “mixed used” feature found in the eastern hemisphere. Sync functions enable cities to switch to different modes suitable for specific needs. For example, during the COVID-19 pandemic, several condominiums have issued new guidelines restricting the use of their lifts or the number of people using the lifts. Future designs could accommodate the COVID-19 pandemic requirement for a private locker for contactless delivery. Another idea is a “space-in-space” design, which supplies a common area with separate equipment to ensure social distancing and a worry-free environment for each resident. As far as city management is concerned, let’s take Monaco or Singapore as an example. During their Formula-1 races, they turn their cities to a “race mode” and generate a lot of revenue. Thailand also has its own “mode” setting for flood-protection. However, we are unprepared to switch to an “anti-COVID-19” mode or a “mega event” mode, such as during the Songkran holidays.
การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมือง ให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของเมืองในซีกโลกตะวันออกที่เป็นแบบผสมสาน (Mixed-use) โดยออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนโหมดของอาคาร สถานที่ หรือเมืองได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ อย่างเช่น คอนโดมิเนียมในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด จะเห็นได้ว่าหลายแห่งจะกำหนดการใช้ลิฟท์แบบจำกัด หรือจำกัดจำนวนของคนใช้ลิฟท์ ซึ่งในอนาคตการออกแบบจะสามารถเข้ามาเพิ่มเติมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้ทุกชีวิตในยุคโควิดมีความสบายใจมากขึ้น เช่น ล็อกเกอร์รับ-ส่งอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ โดยผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเจอหน้ากัน และการออกแบบพื้นที่แบบ space in space ภายในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางโดยใช้อุปกรณ์เพื่อแยกความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อไม่เกิดความระแวงในการใช้พื้นที่ส่วนรวม ส่วนในระดับเมือง อาจจะนึกถึงประเทศโมนาโค หรือสิงคโปร์ ที่จะมีการจัดโหมดเมืองสำหรับการแข่งรถ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกมาก ขณะที่ประเทศไทยเอง มีโหมดเรื่องการป้องกันน้ำท่วม แต่ยังสามารถออกแบบเมืองให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามโหมดอื่น ๆ เช่น โหมดการเฝ้าระวังเชื้อโควิด หรือโหมดการจัดบิ๊กอีเว้นท์ เช่นวันสงกรานต์ เป็นต้น
___________________________________________________________
E – Explorations of Innovations: This concept refers to research, development, and innovation for better living. The design of homes, condominiums, and office buildings need this innovation to accommodate the New Normal lifestyle. Let’s take a look at the use of a lift. Today, more condominiums have adopted the idea of a “private lift” for tenants to maintain physical distancing during the pandemic. Also, it will not disturb other owners who live in the same condominium. This idea helps assure buyers that condominiums are the right choice and a safe property for their investment. There have been several innovations in lift use, such as a double-deck lift. Other COVID-19-inspired innovations are a double-layer door for screening visitors and disinfecting them, and using co-working space to reduce the spread of the virus. Another example is smog-eating surface or paint, which can remove viruses and pollutants. This solution also encompasses innovations in transportation technology. Effective transportation management plays an important role in the City of the Future as people commute, communicate, and deliver products and services to one another. Urban planning and design should support innovative means of transportation, such as Hyperloop and drone support.
การคิดค้น พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมการอยู่อาศัยที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน โดยการออกแบบบ้าน คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน สามารถดึงนวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตอบโจทย์กับชีวิต New Normal อย่างเช่น ลิฟท์ ปัจจุบันคอนโดมิเนียมหลายแห่งใช้โถงลิฟท์ส่วนตัวเข้ามาใช้มากขึ้น นอกจากจะเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยในยุคโควิดแล้ว ยังตอบโจทย์การซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนได้ เพราะลิฟท์ที่แยกออกมาต่างหากนั้น จะไม่เป็นการรบกวนกับเจ้าของห้องจริงที่เป็นผู้อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้น ๆ เลย ปัจจุบันยังพบด้วยว่ามีการคิดค้นลิฟท์ในรูปแบบต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลาย เช่น ลิฟท์ที่เคลื่อนตัวในแนวราบ (double deck lift) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ในยุคโควิดได้เป็นอย่างดี เช่น ประตูสองชั้น ที่ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการคัดกรองคนเข้าออก และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ, การออกแบบพื้นที่ในสำนักงาน หรือ Co-Working space ที่ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ Smog-eating surface สีหรือพื้นผิวที่สามารถดูดซับเชื้อโรค ฝุ่นละลองพิษต่าง ๆ เป็นต้นรวมถึงนวัตกรรมด้าน Transportation หรือการขนส่ง โดยเมืองแห่งอนาคตจะสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นหากมีการจัดการด้านการขนส่งอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น ผู้คนยังต้องเดินทาง ต้องติดต่อสื่อสาร และรับ-ส่งสิ่งของระหว่างกัน การออกแบบเมืองจึงสามารถออกแบบให้รองรับกับแนวคิดการขนส่งในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Hyperloop, drone transport เป็นต้น
___________________________________________________________
These are the new solutions for easing the current crisis that will prepare us for a better future. We add that these design solutions are people-centric. These solutions will improve our lives, promoting a better quality of life both physically and mentally. Most importantly, the City of the Future will support the social and economic needs to achieve the goal of sustainability.
ทั้งหมดนี้ คือโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่อนาคตนั่นเอง โดยเราเสริมแนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดการออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ต้องการเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน เป็นคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ และสำคัญที่สุดคือ เมืองแห่งอนาคตนั้นจะต้องสามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วนทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง